Stoker : เหตุเกิดจากความรุนแรง และ จิตใจ

Stoker เป็นเรื่องราวหลังจากพ่อของอินเดียเสียชีวิต ไป อินเดีย และ เอฟลิน สโต๊กเกอร์ แม่ผู้มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ของเธอ ก็ต้องอาศัยอยู่กับ ชาร์ลี พี่ชายของพ่อ ที่อินเดียไม่รับรู้มาก่อนด้วยซ้ำว่าครอบครัวของตัวเองมีลุงคนนี้อยู่อีกคน ซึ่งความลึกลับของลุงชาร์ลีก็ทำให้อินเดียรู้สึกหวาดระแวงมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งการที่แม่ของเธอเล่นชู้กับลุงยังทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นไปอีก และสุดท้ายปริศนาทั้งหลายก็จะกระจ่างออกมาในทางที่คุณไม่คาดคิดมาก่อน กับผลงานสุดสยองหักมุมที่ใครก็ไม่คาดคิด

เครดิตฟรี

โดยถ้าหากใครได้ดูผลงานเก่าๆของผู้กำกับ ปาร์คชานวุค มามากพอสมควร คงจะรู้ว่าเป็นผู้กำกับคนนึงที่ผลงานแต่ละเรื่องของเขาชอบหมกมุ่นอยู่แต่เรื่องของ ความรุนแรง และ จิตใจ โดยใน Stoker ก็เช่นกัน กับเรื่องราวที่แลดูเหมือน Shadow of a Doubt ของ อัลเฟรด ฮิชค๊อก (ซึ่งผมยังไม่เคยได้ดูเรื่องดังกล่าว) มากพอสมควร กับหญิงสาวที่ต้องต่อสู้และหาความจริงเกี่ยวกับชายแปลกหน้าที่จู่ๆก็เข้ามาในชีวิตเธอ ซึ่งสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นสิ่งที่น่าหลงใหลที่สุดในงานของ ปาร์คชานวุค แทบทุกเรื่องยังคงหนีไม่พ้นจุดขายอย่างที่กล่าวไปอย่าง ความรุนแรง ที่ผู้กำกับนำมาตีความในหลายๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ความรุนแรงที่เกิดจากความจำเป็นอย่างในหนังตระกูล Oldboy หรือความรุนแรงที่เกิดจากจิตใต้สำนึกแบบใน Stoker

สล็อต

ในจิตใต้สำนึกของทุกๆคนนั้นล้วนแล้วแต่มีความรุนแรง และ บ้าคลั่ง อยู่ในตัวตลอดเวลา เพียงแต่ว่ามันรอคอยที่จะปลดปล่อยออกมาเมื่อมีบางสิ่งมากระทบต่อจิตใจ นั่นคือแนวทางที่ Stoker จะพูดถึงในเรื่องหลักเป็นต้น ผ่านตัวละครสาวน้อยวัย 16 ที่ต้องมาผัวพันกับความรุนแรงแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่หนังก็ยังคงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ความรุนแรง ยังคงเป็นปัจจัยต่างๆในการดำเนินชีวิต หรือมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆตลอดมา เพราะเพียงแค่แว้บแรกที่เราได้ลิ้มรสความรุนแรง หรือ เสพติดไปกับมัน มันก็ยากที่จะเลิก ถึงแม้เราจะอ้างว่า เอาความรุนแรงไปใช้เพื่อความที่ถูกต้อง ความชอบธรรม หรือสิ่งต่างๆก็แล้วแต่ แต่ท้ายสุดแล้วผลลัพธุ์ของมันก็ไม่ได้ให้สิ่งที่ดีทั้งผู้ทำ และ ผู้ถูกกระทำ ที่มันจะติดตัวพวกเขาไปตลอดกาล

สล็อตออนไลน์

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลต้องขอยอมรับเลยว่า ทั้งวิธีการเล่าเรื่องด้วยเหตุการณ์ หรือสื่อความหมายด้วยภาพแทนคำพูดใน Stoker อาจจะออกมาดูดี และได้กลิ่นของหนังแดนกิมจิอยู่พอควร แต่มันก็อดไม่ได้เมื่อต้องเทียบกับผลงานสร้างชื่ออย่าง Oldboy ว่าหลายสิ่งหลายอย่างของ Stoker พยายามจะพูดในสื่อแขนงคล้ายๆกันกับเรื่องข้างต้นนั้นยังทำออกมาได้ไม่ดีซะทีเดียว โดยเฉพาะในส่วนหลักคงหนีไม่พ้นการที่ตัวหนังเปิดเรื่องมาพร้อมกับการดึงให้คนดูจมเข้าไปในหลุมมืด โดยที่ไม่ได้ให้คนดูได้แสงสว่างกันก่อน และเป็นไปเช่นนี้จนตลอดเรื่อง

jumboslot

เป็นข้อผิดพลาดที่น่าเสียดายที่สุดของหนัง ที่ทำให้มันขาดจุดพลิกล็อค หรือจุดพีคที่น่าจะทำให้เราดำดิ่งไปกับตัวเรื่องได้มากกว่านี้ เช่นเดียวกับด้านของตัวหนัง ที่นิ่ง เงิบ สไตล์ความเป็น เกาหลี ดราม่า จนอาจจะทำให้คอหนังฝรั่งหลายคนที่มาเห็นหนังเบอร์เกอร์ แต่รสชาติกิมจิ อาจจะรสชาติไม่ถูกปากกันเป็นแถว เช่นเดียวกับคนที่หวังจะเห็นฉากฆ่าโรคจิตๆ หรือความซาดิสม์ ของครอบครัว ก็น่าจะผิดหวังมากหน่อย เพราะแท้จริงแล้วมันเน้นบทสนทนา จนเรียกได้ว่าเป็นหนังดราม่า ทริลเลอร์ แบบกิมจิๆมากกว่าจะฆ่าล้างโคตรแบบอเมริกันนั่นเอง

slot

โดยในด้านทีมนักแสดงนำทั้ง 3 อย่าง แมธธิว กู้ด , นิโคล คิดแมน และ มีอา วาสิโกวสกา ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งของตัวหนัง ที่สร้างสีสันและรสชาติแปลกๆให้คนดูได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักแสดงสาวที่ต้องรับบทนำอย่าง มีอา วาสิโกวสกา ที่หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยฉากท้าทายการแสดงของเธอ ไล่ตั้งแต่ฉากแรงๆ ไปจน ฉากซอฟท์ๆแต่เร่าร้อน เช่นเดียวกับ แมธธิว กู้ด ที่แฝงความโรคจิตด้วยแววตา และ ท่าทาง ได้อย่างลึกลับเข้ากับตัวบท และ นิโคล คิดแมน แม่ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางในการก่อปัญหา ที่อาจจะไร้ฉากให้โชว์ความสามารถ แต่กระนั้นแล้วออร่าความเป็นนักแสดงก็ยังมีอิทธิพลอยู่พอสมควร

เพราะฉะนั้นโดยสรุปแล้วผมคิดว่า Stoker เป็นหนังที่พยายามจะเล่าเรื่อง ความรุนแรง ในแบบฉบับที่สุขุม เงียบๆ ไม่จัดจ้าน แต่มีกลิ่นไอพยายามเดินตามรอย Oldboy ในด้านการเล่นกับเรื่อง จิตใจ และ ความรุนแรงมากพอสมควร พร้อมทั้งทีมนักแสดงที่ช่วยเป็นตัวชูโรงให้กับหนังได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหนู มีอา ที่กล้าเล่น กล้าแสดง จนหนุ่มๆอาจจะเสียวซี๊ด แต่ฉะนั้นปัญหาหลักมันคือ ไม่สามารถทำได้ดีเท่าผลงานเก่า และตัวหนังก็ยังออกมาในแบบฉบับนิ่งๆ เนิบๆ จนคนที่ติดรสจากหนังแฮมเบอร์เกอร์ อาจจะไม่ถูกใจในรสชาติของ เบอร์เกอร์รสกิมจิ มากสมควรนักก็เป็นได้